โลโก้เว็บไซต์ คำถามการรับสมัครที่พบบ่อย | งานรับนักศึกษาใหม่

คำถามการรับสมัครที่พบบ่อย


ข้อ1.
Q : ปวส. สมัครเรียนต่อ ปริญญาตรี ต้องเรียนอีกกี่ปี ???
A : มีอยู่ 2 รูปแบบ
     1. หลักสูตรที่ระบุว่า รับวุฒิ ปวส. และระบุว่าเป็น "ต่อเนื่อง" จะใช้เวลาการศึกษา 2 ปี
         (ขณะนี้มีแค่ วศ.บ.เทคโนโลยีวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง และ วศ.บ.วิศวกรรมกระบวนการผลิต เท่านั้นที่เป็น ต่อเนื่อง)
     2. นอกนั้นหลักสูตรไหนที่ ระบุว่ารับวุฒิ ปวส. จะใช้วิธีการเทียบโอน การเทียบโอนคือ การนำวิชาเรียนในระดับ ปวส. มาเทียบ กับ วิชาเรียนในระดับปริญญาตรี(ตามระเบียบการเทียบโอน) หากวิชาใดเทียบได้ มหาวิทาลัยจะโอนให้ไม่ต้องเรียนวิชาดังกล่าว : ดังนั้นการคำนวนใช้หน่วยเป็นวิชา ไม่สามารถตอบเป็นปีได้ เช่น จาก 40 วิชา เทียบโอนได้ 15 วิชา ดังนั้น ต้อง เรียนอีก 25 วิชา ส่วน จะใช้เวลาเรียนเท่าไหร กี่ปี ขึ้นอยู่กับผู้เรียน แต่ละคนอาจเทียบโอนวิชาได้ไม่เท่ากัน แต่ละคนอาจเรียนได้จำนวนวิชาต่อปีไม่เท่ากัน

 


ข้อ2.
Q : ตอนเลือกหลักสูตร..... ไม่มีให้เลือก ???
A : เข้าใจว่า คำว่า "ตอนเลือกหลักสูตร... ไม่มีให้เลือก  " ในคำถาม นั้น คือ เข้าไปเลือกหลักสูตรในรอบ Pre : รอบ Pre ระบุไว้แล้วว่า รับเป็นบางหลักสูตร ไม่ได้รับทุกหลักสูตร ดังนั้นต้องดูรอบด้วย ว่าหลักสูตรใดรับสมัครในรอบใดบ้าง สรุปคือ เปิดรับ แต่ไม่ได้เปิดในรอบ Pre

 


ข้อ3.
Q : จบวุฒิ กสน. สมัครอะไรได้บ้าง ???
A : ไม่ว่าจะจบอะไรมาก็ตามต้องเข้าดู "ประกาศคุณวุฒฺิสำหรับผู้สมัคร" ก่อน ว่าเรียนอะไรมาสมัครเรียนต่ออะไรได้ วุฒิที่ระบุตรงหรือไม่ เพราะหากไม่ตรงถือว่าไม่ผ่าน ทุกกรณี แม้จะตรวจพบภายหลังเข้าศึกษาแล้วก็ตาม : กรณี วุฒฺ กสน. หาวุฒฺกสน. ที่จบมาคือระดับ ม.6 ก็สามารถสมัครได้ ในหลักสูตรที่แจ้งคุณวุฒิผู้สมัครว่า ม.6 เฉยๆ หรือ ม.6 ทกแผนการเรียน 

 


ข้อ4.
Q : สมัครแล้ว อยากเปลี่ยนสาขา / สมัครใหม่ ทำอย่างไร ???
A : 1. ระยะเวลา/กำหนดการ : การดำเนินการสมัครทุกอย่างต้องอยู่ในระยะเวลากำหนดการรับสมัครของรอบนั้นๆเท่านั้น
     2. ในกรณีที่เลือกหลักสูตรกดสมัครแล้ว ต้อง กดยกเลิกการสมัครอันเดิมก่อนเท่านั้น (ไม่ว่าจะชำระเงินค่าสมัครของหลักสูตรอันเดิมหรือไปแล้วก็ตาม) ระบบจึงจะอนุญาตให้เลือกหลักสูตรกดสมัครใหม่ได้ กรณีชำระเงินในหลักสูตรเดิมแล้วหากกดยกเลิกการสมัคร มหาวิทยาลัยไม่คืนเงินที่ชำระไปแล้ว ท่านต้องชำระเงินใหม่ในหลักสูตรที่จะสมัครใหม่ เท่านั้น : การชำระเงินค่าสมัครนับตามเลขที่ใบสมัครของการสมัครและใบชำระเงินค่าสมัครนั้นๆ 

 


ข้อ5.
Q : Clearing House คืออะไร ???
A : Clearing House คือการยืนยันสิทธิ์ (1 คน 1 สิทธิ์) ของผู้ใช้คุณวุฒิระดับ ม.6 ในการสมัครเรียน Clearing House นั้นจะทำโดยผ่านระบบ MYTCAS ที่ดูแลโดย ทปอ.
     - ในการประกาศผลการคัดเลือกแต่ละรอบ นั้น มหาวิทยาลัยจะประกาศรายชื่อผู้ที่ต้อง Clearing House โดยผู้มีรายชื่อนั้นต้องดำเนินการ Clearing House ตามกำหนด ผ่านระบบ MYTCAS ก่อนชำระเงินค่าเทอมเท่านั้น ไม่ Clearing House ถือว่าไม่ประสงค์จะเรียน (ผู้ที่ไม่มีรายชื่อสามารถรอชำระเงินค่าเทอมตามกำหนดการได้เลย)
     - ข้อควรระวัง จะเข้าเมนู Clearing House ของระบบ MYTCAS ได้ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิก MYTCAS ก่อน ซึ่งการลงทะเบียนดังกล่าวเคยมีนักเรียนบางรายอาจต้องใช้ระยะเวลาหลายวันในการดำเนินการ ดังนั้น ผู้ใช้คุณวุฒิระดับ ม.6 ในการสมัครเรียน ควรจะดำเนินการ เผื่อเวลาในการลงทะเบียนสมัครสมาชิก MYTCAS ก่อนกำหนดการ Clearing House
     - ในการสมัคร รอบ 2 มหาวิทยาลัย กำหนดให้ผู้ใช้คุณวุฒิระดับ ม.6 ในการสมัครเรียน ทุกราย ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิก MYTCAS ก่อน เท่านั้น ระบบจึงจะอนุญาตให้เลือกสมัครหลักสูตร ของรอบ 2 ได้

 


ข้อ6.
Q : มีหลักสูตรเรียน วัน เสาร์-อาทิตย์ หรือไม่ ???
A : หลักสูตรที่ระบุว่า ภาคพิเศษ เรียนนอกเวลาราชการ ซึ้งผู้เรียนต้องมีความพร้อมในการเข้าเรียนตามเวลาดังกล่าว
     - นอกเวลาราชการ นับตั้งแต่ เย็นวันจันทร์ - ศุกร์ และ วันเสาร์-อาทิตย์ เต็มวัน ขึ้นอย่กับความพร้อมของอาจารย์ผู้สอนในแต่ละวิชา

 


ข้อ7.
Q : มีทุนเรียนฟรีไหม ???
A : มี 2 ลักษณะ 
     1. ทุนที่ติดตัวผู้เรียนมา เช่น ทุนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระเทพฯ ฯลฯ เป็นต้น ให้ดำเนินการประสานงาน กองพัฒนานักศึกษา มทร.ล้านนา โทร.053 921444 ต่อ 1360 , 1361 , 1406 ก่อนกำหนดการชำระเงินค่าเทอมแรกเข้า หรือ ติดต่อก่อนสมัครเรียน (กรณีติดต่อก่อนสมัครเรียนมหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้ได้รับเป็นนักศึกษาโควตาพิเศษ เข้าศึกษาต่อโดยไม่ต้องผ่านเกณฑ์คัดเลือก)
     2. ทุนที่มหาวิทยาลัยมอบให้นักศึกษา เช่น โครงการทุนเรียนดีคืนค่าเทอม เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กองพัฒนานักศึกษา มทร.ล้านนา โทร.053 921444 ต่อ 1360 , 1361 , 1406

 


ข้อ8.
Q : ระบบลงทะเบียน Entrance ที่หมายเหตุ * เป็นข้อมูลที่จำเป็น หากกรอกลงทะเบียนแล้ว ไม่อนุญาตให้แก้ไขได้ หากกรอกผิกต้องการแก้ไขทำอย่างไร ???
A : ควรดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนพิมพ์ใบชำระเงินค่าสมัคร และ ชำระเงินค่าสมัคร
     1. ยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียบบ้าน ใบรบ.1 ปพ1. (ฉบับจริง) เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งที่จะขอแก้ไข (จะมายื่นเองหรือให้ตัวแทนมายื่นก็ได้) ยื่นเอกสารเพื่อขอแก้ไขที่งานรับนักศึกษาใหม่ ห้อง รร.203 อาคารเรียนรวม ชั้น 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้ในวันและเวลาทำการปกติ (เหมาะสำหรับกรณีต้องการแก้ไข เร่งด่วน รับเรื่องแก้ไขทันที)
     2. ถ่ายรูปเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 1 ข้างต้น เพื่อขอแก้ไข โดยยื่นผ่าน Direct Message Page Facebook  งานรับนักศึกษาใหม่ มทร.ล้านนา https://www.facebook.com/RMUTL.Entrance โดยต้องแจ้งข้อมูลที่จะแก้ไขให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยละเอียด รูปที่ส่งมีความชัดเจนดูง่าย : กรณีนี้อาจต้องใช้ระยะเวลา หลังจากที่เจ้าหน้าที่จะสะดวกจากภาระงานปกติ เพื่อเข้าดูข้อมูลใน Page Facebook (อาจไม่ได้เข้าตรวจสอบทุกวันเป็นประจำ) แล้ว จึงจะดำเนินการรับเรื่องและแก้ไขให้ (ไม่เหมาะสำหรับกรณีหากต้องการแก้ไข เร่งด่วน)
     3. มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในการที่จะพิจารณาว่าจะแก้ไขหรือไม่แก้ไขข้อมูลให้ (หากแก้ไขจะแก้ไขตามหลักฐาน) ดังนั้นผู้สมัครควรกรอกข้อมูลที่ถูกต้องแต่แรกเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้สมัครเอง

 


ข้อ9.
Q : ระบบลงทะเบียน Entrance ลืมรหัสเข้าระบบทำอย่างไร ???
A : กดคลิกที่ "ลืมรหัสผ่าน" กรอกข้อมูลตามที่ระบบให้กรอก หากข้อมูลถูกต้องระบบจะเซ็ต รหัสผ่านเป็น เลขประจำตัวประชาชน แล้วให้ใช้ เลขประจำตัวประชาชน เป็นรหัสผ่านในการเข้าใช้งานระบบต่อไป

 


ข้อ10.
Q : ชำระเงินค่าสมัครแล้ว สถานะการชำระเงินจะขึ้นเมือไหร่ ??? 
A : ประมาณ 2 - 3 วันทำการหลังจากวันชำระเงิน (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) ทั้งนี้ให้เก็บเอกสารการชำระเงินไว้เป็นหลักฐาน

 


ข้อ11.
Q : เกรดเฉลี่ยให้กรอกกี่เทอม ???
A : ในระบบตรงที่กรอก หมายเหตุว่า "กรณีกำลังศึกษาอยู่ให้ใส่ เกรดเฉลี่ยเฉพาะของเทอมล่าสุดที่ได้รับ หรือ เกรดเฉลี่ยสะสมจนถึงเทอมล่าสุดที่ได้รับ" ซึ่งถือว่าได้อธิบายค่อนข้างชัดเจนแล้ว กรณีถามตอบ QA ก็คงจะตอบเหมือนเดิม ใช้คีย์เวิสเดิม ดังนั้นให้ผู้สมัครพิจารณาเอง อ่านดีดีก็จะทราบว่าจะกรอกข้อมูลนี้อย่างไร

 


ข้อ12.
Q : ภาคพิเศษ แตกต่างจากภาคปกติอย่างไร ??? 
A : 1. ภาคพิเศษ เรียนเวลานอกราชการ
     2. ภาคพิเศษ ชำระเงินค่าเทอมแพงกว่าภาคปกติ (ดูตามตารางแผนรับ)
     3. ภาคพิเศษ เรียนคนละห้อง กับ ภาคปกติ เสมือนเรียน ห้อง ก กับ ห้อง ข  , ห้อง/2 กับ ห้อง/3 เป็นต้น
     นอกนั้นไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ใช้เล่มหลักสูตรเดียวกัน วิชาที่เรียนเหมือนกัน เหมือนกันหมด แม้แต่ปริญญาบัตร ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็น ภาคพิเศษ หรือ ภาคปกติ

 


ข้อ13.
Q : ค่าเทอมที่ระบุ ต้องจ่ายเพิ่มอีกไหม ??? 
A : ค่าเทอมที่ระบุใน ตารางจำนวนรับ เป็นค่าเทอมแบบเหมาจ่ายต่อภาคเรียน ทุกภาคเรียนเก็บอัตตราเดียวเหมือนกันตลอดหลักสูตร ยกเว้น ภาคการศึกษาแรกเข้า หรือ เทอมแรกเข้า จะมีค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเพิ่มเติม ดังนี้
     - ค่าบัตรนักศึกษา 100.- บาท
     - ค่าเรียนปรับพื้นฐาน 1,000.- บาท
     - ค่าขึ้นทะเียนนักศึกษาใหม่ 500 บาท 

 


ข้อ14.
Q : เป็นผู้พิการ เรียนได้ไหม ???
A : เรียนได้ ให้เรียนฟรีด้วย แถมให้เป็นกลุ่มโควตาพิเศษไม่ต้องผ่านเกณฑ์คัดเลือกไม่ต้องแข่งขันกับคนอื่น แต่.. ต้องพิจารณาให้เข้าศึกษาตามความเหมาะสมในประเภทความพิการและความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยด้วย ตามเกณฑ์รับนักศึกษาพิการ ดังนี้
      1. ต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ และต้องแสดงตนให้มหาวิทยาลัยทราบ
      2. ผู้พิการสามารถเข้าศึกษาโดยจะได้รับการยกเว้นค่าบำรุงการศึกษาตลอดหลักสูตร
      3. มหาวิทยาลัยจะพิจารณาผู้พิการให้เข้ารับการศึกษาตามความเหมาะสมของประเภทความพิการและความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร ของมหาวิทยาลัย
      4. การสมัครเรียน ผู้พิการ/ผู้ปกครอง ต้องติดต่อศูนย์บริการนักศึกษาพิการ (DSS) โทร.053 921444 ต่อ 1360 , 1361 , 1406 ก่อนการสมัครในแต่ละรอบการสมัคร เพื่อคัดกรองประเภทความพิการ และ ความเหมาะสมของผู้พิการในการเข้าศึกษาต่อในแต่ละหลักสูตรก่อน

 


ข้อ15.
Q : ชำระเงินค่าสมัครได้ที่ไหนบ้าง ??? 
A :  - สำหรับรอบ Pre-2566 จะชำระได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
     1. เคาน์เตอร์รับชำระเงินสดธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
     2. App. Krungthai Next โดยการสแกน QR Code
     
     - ส่วนรอบอื่นๆ ขึ้นไป อยู่ระหว่างดำเนินการ เพิ่มช่องทางให้สามารถชำระเงินได้ที่ 7-11 รอบ Pre ยังชำระไม่ได้ (จะแจ้งในใบชำระเงิน) 

Q : แล้วต้องพิมพ์ใบชำระเงินออกมาหรือเปล่า ???
A : ขึ้นอยู่กับชองทางที่จะผู้สมัครเลือกใช้ชำระเงิน
     1. กรณีเลือกจะชำระเงินที่ เคาน์เตอร์รับชำระเงินสดธนาคารกรุงไทย ก็ต้องพิมพ์ใบชำระเงิน
     2. กรณีเลือกจะชำระเงินผ่าน App. Krungthai Next จะพิมพ์ใบชำระเงิน หรือแค่เซฟรูป QR Code นั้นก็แล้วแต่ความสะดวกของผู้สมัครเอง 
     ข้อความระวัง!!! ใบชำระเงิน ยึดตามเลขที่สมัคร สมัคร แต่ละหลักสูตรได้เลขที่สมัครไม่เหมือนกัน แม้เลขที่สมัครนั้นจะกดยกเลิกการสมัคร เมือสมัครใหม่ก็จะได้เลขที่สมัครใหม่ ดังนั้นอาจเกิดการชำระผิดได้ดังนี้
     ระวัง!!! พิมพ์ใบที่ยกเลิกแล้วไปจ่าย
     ระวัง!!! พิมพ์ใบของเพื่อนไปจ่าย
     ระวัง!!! ใช้ QR Code ของใบที่ยกเลิกแล้วไปจ่าย
     ระวัง!!! ใช้ QR Code ของใบของเพื่อนไปจ่าย
     กรณีชำระผิดไม่คืนเงินทุกกรณี

Q : แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามหาวิทยาลัยได้รับเงินที่ชำระไปแล้ว ??
A : ย้อนกลับไปอ่าน QA ข้อที่ 10 

 


ข้อ16.
Q : ใช้วุฒิ ปวส. เป็นวุฒิเดิมในการสมัคร เลือกสาขาแล้ว แต่ใบจ่ายค่าสมัคร ระบุว่า ชั้นปีที่ 1 จริงๆต้องเป็นชั้นปีที่ 3 ไม่ใช่เหรอ ??? 
A : - ถูกต้องแล้วครับ นักศึกษาใหม่ทุกคน เข้ามาต้องเป็นชั้นปีที่ 1 เหมือนกันหมด ไม่มีใครเข้ามาแล้วกระโดดเป็น ชั้นปีที่ 3
     - ถ้าจะให้อธิบาย อันดับแรกให้ย้อนกลับไปดู QAข้อ1. ก่อน เพื่อให้เข้าใจว่า ปวส. เรียนต่อประริญญาตรีคืออะไร ..................
     - เมือกลับไปอ่านแล้ว ได้เข้าใจแล้ว ก็จะอธิบายเพิ่มเติมว่า สรุปทุกคนเข้าเรียนปีการศึกษาเดียวกัน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเหมือนกัน แต่...แต่ละคนจะมีจำนวนวิชาที่เรียนไม่เท่ากัน ใครมาจาก ปวส. ก็จะมีวิชาเรียนน้อยกว่า และจบการศึกษาก่อน ใครมาจากวุฒิ ม.6/ปวช. ก็เรียนทุกวิชา

 


ข้อ17.
Q : อยากสมัครเรียน ต้องทำอย่างไรบ้าง ???
A :  ต้องทราบก่อนว่า มหาวิทยาลัย
      เปิดหลักสูตรใดบ้าง ??
      แต่ละหลักสูตรเปิดเรียนที่ มทร.ล้านนา จังหวัดไหน ??
      แต่ละหลักสตร นั้นต้องจบอะไรมาจึงจะสมัครเรียนได้ ??
      หลักสูตรที่เราจะสมัครเรียน เขาเปิดรับในรอบการสมัครรอบไหนบ้าง ??
      แต่ละรอบการสมัคร แข่งขันกันด้วยอะไร ??
      แต่ละรอบการสมัคร เริ่มเปิดรับสมัครวันไหน ??
      แล้วจึงพิจารณาเลือกสมัคร ในรอบการสมัคร ในหลักสูตรที่เราประสงค์จะเรียนต่อ โดยข้อมูลต่างๆข้างต้น และ ลงทะเบียนสมัครเรียน ได้ที่เว็บไซต์รับสมัครนักศึกษาใหม่  entrance.rmutl.ac.th

 


ข้อ18.
Q : อธิบายใบ ปพ./รบ. ที่ต้องใช้ในการอัพโหลดเอสาร และนำมาในวันสอบสัมภาษณ์ หน่อย ???
A : 1 รบ.1 ปพ.1 คือใบแสดงระเบียนผลการเรียน หรือ เกรด ทุกวิชา/ทุกเทอมที่เรียนมา ในวุฒิการศึกษานั้นๆ
        รบ.1 --> ปวช. ปวส.
        ปพ.1 --> ม.3 ม.6
     2 กรณีเรียนครบหลักสูตร(เรียนจบ) เรียกว่า "ฉบับสมบูรณ์" หรือ "ฉบับจบ" จะมีเกรดครบทุกวิชาครบทุกเทอม และจะระบุวันที่จบ พร้อมสาเหตุการจบว่า "จบการศึกษา" เป็นต้น
     3 กรณียังเรียนไม่จบ จะระบุเกรดและวิชาเรียน เท่าที่ออกได้จริง ณ วันที่ไปขอเอกสารจากสถานศึกษานั้นๆ (ทุกสถานศึกษานร.สามารถยื่นขอได้ แต่ระยะเวลาการออกใบดังกล่าวแต่ละที่อาจไม่เหมือนกัน) โดยสถานศึกษาอาจจะปั๊มตราว่า ยังไม่จบ,ไม่ใช้ใบจบ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งผู้เรียนทุกคนสามารถไปขอได้ตลอดเวลา (ยกเว้นบางสถานศึกษาที่จะมีช่วงระยะไม่ให้ขอ เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาประมวลผลการเรียนของเทอมนั้นๆ ผู้สมัครต้องมีความพร้อมขอไว้ล่วงหน้า จะอ้างเป็นเหตุไม่ได้)
     4 คำว่า "เอกสารฉบับจริง" คือฉบับตัวจริงที่สถานศึกษาออกให้ ไม่ใช้ตัวที่ท่านนำไปถ่ายเอกสารแล้ว ลงชื่อรับรอง จะเรียกว่าตัวสำเนา เอกสารฉบับจริงนั้น สถานศึกษาออกให้แล้วอาจจะปั๊มตราโรงเรียน หรือมีนายทะเบียนลงชื่อกำกับ "ซึ้งอาจจะเป็นฉบับจบด้วย หรือไม่ก็ได้" แล้วแต่ผู้สมัครแต่ละรายที่จัดหามาได้ตามความจริง


 

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา